วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

อกุศลกรรมบถ ๑o

๑. ปาณาติบาต ( ฆ่าสัตว์ , เบียดเบียนสัตว์ )
๒. อทินนาทาน ( ลักทรัพย์ )
๔. มุสาวาท ( พูดโกหก )
๕. ปิสุณาวาท ( พูดส่อเสียด )
๖. ผรุสวาท ( กล่าวคำหยาบ )
๗. สัมผัปปลาปะ ( กล่าวคำเพ้อเจ้อ )
๘. อภิชฌา ( อยากได้ของผู้อื่น )
๙. พยาบาท ( ผูกใจเจ็บ )
๑o. มิจฉาทิฏฐิ ( ความเห็นผิด )

http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B-%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%96-10-a-157223.html

กุศลกรรมบถ10

กุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ (wholesome course of action) เป็นธรรมส่วนสุจริต 10 ประการ จึงเรียกชื่อว่า กุศลกรรมบถ 10
คำว่า กรรมบถ (อ่านว่า กำมะบด) แปลว่า ทางแห่งกรรม คือ การกระทำที่เข้าทางเป็นกรรมหรือที่นับว่าเป็นกรรม หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม คือการกระทำที่นับว่าเป็นความดีได้แก่
  • ที่เป็นกายกรรม มี 3 อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
  • ที่เป็นวจีกรรม มี 4 คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
  • ที่เป็นมโนกรรม มี 3 คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้าย เห็นชอบตามคลองธรรม (สัมมาทิฐิ)

 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%96


ประพฤติดีด้วยกาย 3 ประเภท
ประพฤติดีด้วยกาย นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น มี 3 ประการ
  1. คือ อย่าเบียดเบียนร่างกายของท่าน คือ อย่าฆ่า อย่าฟัน อย่าทุบ อย่าตี ร่างกายของท่านผู้อื่นโดยที่สุด เว้นถึงสัตว์ติรัจฉานได้ยิ่งเป็นการดี ตรงภาษาบาลีที่ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี ฯ
  2. คือ อย่าเบียดเบียนทรัพย์สมบัติข้าวของของท่านผู้อื่น คืออย่าลักขโมย อย่าฉ้อโกง อย่าเบียดบังเอาข้าวของของท่านผู้อื่น ตรงภาษาบาลที่ว่า อทินฺนาทานาเวรมณี ฯ
  3. คือ อย่าแย่งชิงลักลอบด้วยอำนาจของกายในหญิงที่ท่านหวงห้าม ตรงภาษาบาลีที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีฯ

ประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภท

(วจีกรรม 4 ประเภท) นั้นได้แก่

  1. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่สัตย์ที่จริง ให้เว้นจากวาจาที่เท็จไม่จริงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า มุสาวาทาเวรมณี ฯ
  2. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันสมานประสานสามัคคีให้ท่านดีต่อกัน ให้เว้นวาจาส่อเสียดยุยงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ปิสุณายาวาจาเวรมณีฯ
  3. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันอ่อนโยน ให้เกิดความยินดีแก่ผู้ฟัง ให้งดเว้นวาจาที่หยาบคายขึ้นกูขึ้นมึง บริภาษตัดพ้อหยาบๆ คายๆ ให้ผู้ฟังได้รับความเดือดร้อนต่างๆ เสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ผรุสฺสายวาจายเวรมณี ฯ
  4. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์ ให้เว้นวาจาที่เหลวไหล คือพูดเล่นหาประโยชน์มิได้เสีย ตรงกับภาษาลีที่ว่า สมฺผปฺปลาปาวาจายเวรมณี ฯ

 ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท

ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท (มโนกรรม 3 ประเภท) นั้นคือ
  1. คือ ให้ระวังเจตนากรรม ให้สัมประยุตต์ด้วยเมตตาอยู่เสมอ คือ ความดำริของใจ อย่าให้ลุอำนาจแห่งโลภะ คืออย่าเพ่งเอากิเลสกามและวัตถุกามของท่านผู้อื่น ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อนภิชฺฌา โหติฯ
  2. คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วยกรุณาอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้โทสะ พยาบาท เข้าครอบงำได้ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อพฺพยาปาโท โหติฯ
  3. คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วย มุทิตา อุเบกขา อยู่ทุกเมื่อ อย่าให้ไหลไปในทางผิด ให้เห็นตรงตามคลองธรรมทั้ง 10 นี้อยู่ทุกเมื่อ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า สมฺมทิฎฺฐิโก โหติฯ

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประเภทของกิเลส10

ประเภทของกิเลส
1.อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
2.โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
3.โมหะ ความหลงใหล ความโง่
4.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
5.ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
6.วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
7.โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
8.ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
9.อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
10.มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง
ความเป็นตัวตน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA