วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พละ ๑๐

พละ ๑๐ สัทธาพละ
วิริยพละ
สติพละ
สมาธิพละ
ปัญญาพละ
หิริพละ
โอตตัปปพละ
ปฏิสังขานพละ
ตถาคตพละ


เพราะ อรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่า วิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
ชื่อว่า หิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอันลามก
ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก
ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ
ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า อนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น นั้น
ชื่อว่าขันติพละเพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า นิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า อิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า อธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขมมะเป็นต้น ชื่อว่า สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น
ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น
ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อมสำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล ฯ
ข้อมูลจาก http://etipitaka.com/search/

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สังโยชน์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง

สังโยชน์ (บาลีsamyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
  • ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
    • 1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
    • 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    • 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
    • 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
    • 5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
  • ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
    • 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
    • 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
    • 8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
    • 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
    • 10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้
คือ
อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑
ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน ๑ 
ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑ 
ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑ 
ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑
 ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑
 ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ 
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑ 
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑
 ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑
             บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



มาตุคาม   หมายถึง ผู้หญิง,เพศหญิง,หญิง


อัพภาน[อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.). http://dict.longdo.com/search/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99 อัพภาน คือ การที่สงฆ์เรียกเข้าหมู่ 

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

กิเลสวัตถุ ๑๐


ทสกนิเทศ ในทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ

โทสะ

โมหะ

มานะ

ทิฏฐิ

วิจิกิจฉา

ถีนะ

อุทธัจจะ

อหิริกะอโนตตัปปะ

เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๑๐

อาฆาตวัตถุ ๑๐

อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว ๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอ ของเราแล้ว ๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบ พอของเรา ๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอ ของเรา ๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ ของเราแล้ว ๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบ พอของเรา ๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบ พอของเรา ๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ควร เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๑๐

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อริยวาส ๑๐


อริยวาส ๑๐ คือ 
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว
ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา 
มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบมีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้วมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ฯ

http://etipitaka.com/read?keywords=%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%93&language=thai&number=284&volume=11#

มิจฉัตตะ ๑๐(ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละ)



ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละเป็นไฉน

ได้แก่

มิจฉัตตะ ๑๐ คือ

ความเห็นผิด ความดำริผิด

เจรจาผิด

การงานผิด

เลี้ยงชีพผิด

พยายามผิด

ระลึกผิด

ตั้งใจผิด

ความรู้ผิด

ความพ้นผิด ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ