วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐

มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก
 ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง
เทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
  1. อายุทิพย์
  2. วรรณทิพย์
  3. สุขทิพย์
  4. ยศทิพย์
  5. อธิปไตยทิพย์
  6. รูปทิพย์
  7. เสียงทิพย์
  8. กลิ่นทิพย์
  9. รสทิพย์
  10. โผฏฐัพพทิพย์ ฯ
ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4992&Z=5046&pagebreak=0

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บุคคล 10 จำพวก


ทสกนิทเทส
ว่าด้วยบุคคล ๑๐ จำพวก
[๑๕๒] ความสำเร็จ ในกามาวจรภูมินี้ ของพระอริยบุคคล
๕ เจ้าพวกนี้ เหล่าไหน ?
ความสำเร็จในกามาวจรภูมินี้ ของพระอริยบุคคล จำพวก
เหล่านี้ คือ.
๑. พระอริยบุคคลประเภท สัตตักขัตตุปรมะ
๒. พระอริยบุคคลประเภท โกลังโกละ
๓. พระอริยบุคคลประเภท เอกพีชี
๔. พระอริยบุคคลประเภท สกทาคามี
๕. ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอัตภาพนี้
ความละอัตภาพในกามาวจรนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จ ของพระ-
อริยบุคคล ๕ จำพวก เหล่าไหน ?
ความละอัตภาพในกามาวจรนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จของพระอริย-
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ คือ
๑. พระอริยบุคคลประเภท อันตราปรินิพพายี
๒. พระอริยบุคคลประเภท อุปหัจจปรินิพพายี
๓. พระอริยบุคคลประเภท อสังขารปรินิพพายี
๔. พระอริยบุคคลประเภท สสังขารปรินิพพายี
๕. พระอริยบุคคลประเภท อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 460
การบัญญัติจำพวกบุคคลทั้งหลาย ย่อมมีด้วยบัญญัติ เพียงเท่านี้.
จบบุคคล ๑๐ จำพวก

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อสัทธรรม 10

อสัทธรรม ๑๐ อย่างดังนี้
๑. ทำลายความดีของผู้อื่น
๒. คะนอง
๓. ทะยานอยาก
๔. กินมาก
๕. ละโมภ
๖. ไม่กรุณา
๗. ไม่มีกำลัง*
๘. ส่งเสียงเอ็ดอึง
๙. หลงลืมสติ
๑๐. ทำการสะสม




*คำว่า “ไม่มีกำลัง” ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึง หมายถึงพระภิกษุที่
ไม่มีกำลังศรัทธา ไม่มีกำลังความ เพียร ไม่มีกำลังแห่งความละอายต่อบาป 
ไม่มีกำลังแห่งความเกรงกลัวต่อบาป ไม่มีกำลังสติ ไม่มีความ ตั้งใจมั่น
และไม่มีกำลังแห่งปัญญา

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=131612

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัญญา 10

สัญญา 10

อนิจจสัญญา พิจารณาว่า
  • รูปไม่เที่ยง
  • เวทนาไม่เที่ยง
  • สัญญาไม่เที่ยง
  • สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
  • วิญญาณไม่เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นอนิจจัง
  • อนัตตสัญญาพิจารณาว่า
  • จักษุเป็นอนัตตา
  • รูปเป็นอนัตตา
  • หูเป็นอนัตตา
  • เสียงเป็นอนัตตา
  • จมูกเป็นอนัตตา
  • กลิ่นเป็นอนัตตา
  • ลิ้นเป็นอนัตตา
  • รสเป็นอนัตตา
  • กายเป็นอนัตตา
  • โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา
  • ใจเป็นอนัตตา
  • ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ เป็นอนัตตา
อสุภสัญญาพิจารณากายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้

อาทีนวสัญญาพิจารณาว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้

ปหานสัญญาไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า ที่เกิดขึ้นแล้ว (พิจารณาเห็นว่าวิตกทั้งสองคือกามวิตก และพยาบาทวิตกคือการจองเวรเป็นเหตุให้จิตยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดและอวิหิงสาเป็นเหตุให้รับวิบากกรรมในขณะเวียนว่ายตายเกิด)

วิราคสัญญาพิจารณาว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง (อุปธิ = ที่ตั้งแห่งทุกข์ ) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (ซึ่งก็คือสภาวะของพระนิพพานที่สัมผัสได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั่นเอง )

นิโรธสัญญาพิจารณาว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (วิราคะ และนิโรธ ล้วนเป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน โดยวิราคะเน้นที่ความสำรอกกิเลส คือการไม่ปรุงแต่งในสิ่งภายนอกราบเรียบเสมอกัน ส่วนนิโรธเน้นที่ความดับไม่เหลือของกิเลส คือการไม่ยึดติดในสิ่งภายในว่าไม่ใช่ตัวกูของกู)

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา การกำหนดหมายในความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ละอุบายและอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิตย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น (การเห็นสิ่งที่ไม่งดงาม แต่สำคัญว่างดงามเพราะจิตเข้าไปปรุงแต่ง)

สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาการกำหนดหมายในความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ความอึดอัด ระอา เกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (การเห็นสิ่งทั้งปวงมีแต่แตกกระจายไป)
  • อานาปานสติ การนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้
๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
ที่มา
http://www.dhammakaya.org/dhamma/boon01.php
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=138455

อสุภะ10 อย่าง

อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ
  1. อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด
  2. วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ
  3. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
  4. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
  5. วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
  6. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป
  7. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ
  8. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง
  9. ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน
  10. อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อนุสสติทั้ง 10

อนุสสติ ๑๐

          
อนุสสติ
  แปลว่า  "ตามระลึกถึง"  กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน  บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน ๔ และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ เมื่อถึง
กรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใด จะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ก็เหมาะแก่อารมณ์
ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต  บางหมวด
ก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปใน ราคจริตกองใด
หมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใด  ก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ  อนุสสตินี้
มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

          ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
          ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
          ๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
          ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
          ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
          ๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
             (อนุสสติทั้ง ๖ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
          ๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
          ๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์  
             (อนุสสติ ๒ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
          ๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
          ๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต
          อนุสสติทั้ง ๑๐ นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฏิบัติแต่ละอย่างดังนี้ ขอท่านนักปฏิบัติ
พึงทราบ และเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยของตน จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ตั้งมั่น
รวดเร็ว ไม่ล่าช้า

http://www.palungjit.com/smati/k40/anu.htm

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไม่ให้เชื่อ 10 อย่าง



กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มีกาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา*ให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ได้แก่
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว



วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โอวาท 10 ข้อ แก่พระนางวิสาขา

โอวาท ๑๐ ข้อ แก่พระนางวิสาขา



ธนัญชัยเศรษฐีผู้เป็นบิดาได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อ แก่พระนางวิสาขาว่า



๑. ไฟในอย่านำออก

๒. ไฟนอกอย่านำเข้า

๓. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ให้

๔. ไม่พึงให้แก่บุคคลที่ไม่ให้

๕. พึงให้ทานแก่บุคคลที่ให้และไม่ให้

๖. พึงนั่งให้เป็นสุข

๗. พึงบริโภคให้เป็นสุข

๘. พึงนอนให้เป็นสุข

๙. พึงบำเรอให้เป็นสุข

๑๐. พึงนอบน้อมเทวดา

http://www.watthaichetavan.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538706834&Ntype=1

เนื้อที่ต้องห้าม 10

เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือ



เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือ

เนื้อมนุษย์
เนื้อช้าง
เนื้อม้า
เนื้อสุนัข
เนื้องู
เนื้อราชสีห์
เนื้อเสือโคร่ง
เนื้อเสือเหลือง
เนื้อหมี
และเนื้อเสือดาว

สรุปธรรม10

มีพุทธพจน์แห่งหนึ่ง สรุปธรรมทั้งหมดไว้ดังนี้



๑. ธรรมทั้งปวง มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกา) ๖. ธรรมทั้งปวง มีสติเป็นเจ้าใหญ่ (สตยาธิปเตยฺยา)
๒. ธรรมทั้งปวง มีมนสิการเป็นต้นกำเนิด (มนสิการสมฺภวา) ๗. ธรรมทั้งปวง มีปัญญาเป็นยิ่งยอด (ปญฺญุตฺตรา)
๓. ธรรมทั้งปวง มีผัสสะเป็นที่ก่อตัวขึ้น (ผสฺสสมุทยา) ๘. ธรรมทั้งปวง มีวิมุติเป็นแก่น (วิมุตฺติสารา)
๔. ธรรมทั้งปวง มีเวทนาเป็นที่ชุมนุม (เวทนาสโมสรณา) ๙. ธรรมทั้งปวง มีอมตะเป็นที่หยั่งลง (อมโตคธา)
๕. ธรรมทั้งปวง มีสมาธิเป็นประมุข (สมาธิปมุขา) ๑๐. ธรรมทั้งปวง มีนิพพานเป็นที่สิ้นสุด (นิพพานปริโยสานา)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) :
สัมมาสมาธิและสมาธิแบบพุทธ
http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka.php

จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์

จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย[1]
  1. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
  2. พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย
  3. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
  4. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
  5. พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
  6. พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน
  7. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง
  8. พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
  9. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ
  10. พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้

บารมี 10

  1. ทาน การให้
  2. ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
  3. เนกขัมมะ การออกจากกาม
  4. ปัญญา ความรู้
  5. วิริยะ ความเพียร
  6. ขันติ ความอดทนอดกลั้น
  7. สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
  8. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
  9. เมตตา ความรักด้วยความปรานี
  10. อุเบกขา ความวางเฉย

บารมี (บาลี: pāramī; สันสกฤต: pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครุกาบัติ 10



 ครุกาบัติ 10

1. ผู้ฆ่าชีวิตมนุษย์ให้ตายด้วยมือตนเอง ใช้ผู้อื่นกระทำ หรือเป็นใจสมรู้ ตลอดจนฆ่าชีวิตสัตว์เล็กใหญ๋ให้ตาย ต้องสถานโทษหนัก

 2. ผู้ถือเอาของผู้อื่น มีราคา 5 มาสก ตลอดจนลักเอาของไม่มีค่าที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก

3. ผู้เสพเมถุน นำนิมิตล่วงเข้าไปในทวารหลัก ทวารเบา หรือทางปากของผู้ชาย หรือผู้หญิงตลอดจนสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ต้องสถานโทษหนัก

4. ผู้อุตตริมนุษยธรรม อวดรู้ฌานรู้มรรคผลที่ไม่มีในตน ตลอดจนพูดมุสาวาทที่ไม่ใช่ความจริง กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก

5. ผู้ผลิตสุราเมรัยน้ำเมา ตลอดจนยาดองสุราที่ไม่ใช่รักษาโรคโดยตรง กระทำหรือผลิตเองหรอใช้คนอื่นกระทำหรือผลิต ต้องสถานโทษหนัก

6. ผู้กล่าวร้ายบริษัทสี่ ใส่ไคล้อาบัติชั่ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนศึกษามานะ (สิกขามานา) สามเณร และสามเณรี โดยไม่มีมูลด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก

7. ผู้ยกตนข่มท่าน ติเตียนนินทาภิกษุอื่น ยกย่องตนเองเพื่อลาภด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก

8. ผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่มีมุทิตาจิต ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อผู้ยากจน ขอทานกลับขับไล่ไสส่ง กระทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก

9. ผู้มุทะลุฉุนฉียว ตลอดจนก่อการวิวาท ใช้มีด ใช้ไม้ ใช้มือทุบตีภิกษุอื่น กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก

10. ผู้ประทุษร้ายต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
ครุกาบัติ 10 ข้อนี้ผู้ใดล่วงละเมิดไม่ได้ถือว่าเป็นปาราชิก

ศีลบารมี ในมหายานนั้นมีสิกขาบท 250 ข้อ ศีลโพธิสัตว์ 58 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็นครุกาบัติ 10 ข้อ และลหุกาบัติ 48 ข้อ จากหนังสือพระพุทธศาสนามหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย
 http://www.facebook.com/#!/tj.richy


ปาราชิก คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติปาราชิก

พระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกสี่ข้อใดข้อหนึ่ง แม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบท ก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เมื่อความผิดสำเร็จ

*ปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227 ได้แก่
เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)