พละ ๑๐
สัทธาพละ
วิริยพละ
สติพละ
สมาธิพละ
ปัญญาพละ
หิริพละ
โอตตัปปพละ
ปฏิสังขานพละ
ตถาคตพละ
เพราะ อรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่า วิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
ชื่อว่า หิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอันลามก
ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก
ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ
ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า อนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น นั้น
ชื่อว่าขันติพละเพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า นิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า อิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า อธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขมมะเป็นต้น ชื่อว่า สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น
ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น
ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อมสำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล ฯ
ข้อมูลจาก http://etipitaka.com/search/
วิริยพละ
สติพละ
สมาธิพละ
ปัญญาพละ
หิริพละ
โอตตัปปพละ
ปฏิสังขานพละ
ตถาคตพละ
เพราะ อรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่า วิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
ชื่อว่า หิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอันลามก
ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก
ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ
ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า อนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง
ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น นั้น
ชื่อว่าขันติพละเพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า นิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า อิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า อธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขมมะเป็นต้น ชื่อว่า สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น
ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น
ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว
ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น
ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อมสำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล ฯ
ข้อมูลจาก http://etipitaka.com/search/